สภาพภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตำบลขนงพระ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีขนาดพื้นที่ประมาณ 94.54 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 59,090 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปากช่อง และตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหมูสี และตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองสาหร่ายและตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่โดยรวมของตำบลขนงพระ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยผสมกับพื้นที่ราบเอียงเป็น ลอนคลื่น ทางด้านทิศตะวันตกและด้านทิศใต้มีลักษณะเป็นภูเขามีความสูงประมาณ 500 – 600 เมตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่ตำบลขนงพระ ได้แก่ แม่น้ำลำตะคอง ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของตำบลขนงพระ จัดอยู่ในพื้นที่ประเภททุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Savanna) โดยมีลมมรสุมหลักพัดผ่าน คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพัดจากทิศตะวันออก หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้หรือทิศใต้ทำให้มี อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกโดยทั่วไปสามารถแบ่งฤดูกาลออก ได้เป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้ 1.ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม ของทุกปี เริ่มมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือน ตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2.ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวที่พัดจากประเทศจีน 3.ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ช่วงที่อากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน มีอุณหภูมิสูงสุด 36.88 องศาเซลเซียส ลักษณะของดิน การกำเนิดเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่และหรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วง ของโลกของหินดินดานที่มีสีจาง หินสเลท หรือหินที่คล้ายคลึงกัน สภาพพื้นที่ลาดเอียงเป็นลอนคลื่นถึงเนินเขาหรือเขามีความลาดชัน 4 – 35% การระบายน้ำดี การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินเร็ว สภาพซึมผ่านได้ของน้ำปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง บางแห่งปลูกพืชไร่ ลักษณะและสมบัติของดินเป็นดินตื้นถึงหินต้นกำเนิด ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้มปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดกลาง (pH 5.5 – 7.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวปนกรวดมาก หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งปนกรวดมาก หรือดินเหนียวปนกรวดมากปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย ( pH5.5 – 6.5) ดินล่างตอนล่างสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มจะพบหินที่กำลังสลายตัวที่ความลึกไม่เกิน 50 ซม. จากผิวดิน
การปกครอง ตำบลขนงพระ แบ่งการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน
|
1 |
บ้านขนงพระเหนือ
|
2 |
บ้านขนงพระใต้
|
3 |
บ้านบุกะเฉด
|
4 |
บ้านคลองหินลาด
|
5 |
บ้านขนงพระกลาง
|
6 |
บ้านซับสวอง
|
7 |
บ้านประดู่บาก
|
8 |
บ้านหนองตะกู
|
9
|
บ้านเขาจันทน์หอม
|
10
|
บ้านตะเคียนทอง
|
11
|
บ้านโบนันซ่า
|
12
|
บ้านผาสุข
|
13
|
บ้านประดู่งาม
|
14
|
บ้านปิ่นทอง
|
15
|
บ้านทรัพย์ศรีมงคล
|
ประชากร จำนวนประชากรในเขตตำบลขนงพระ ปี 2566 จำนวนประชากรทั้งหมด 13,163 คน แบ่งออกเป็น 1.ประชากรเพศชาย 6,474 คน 2.ประชากรเพศหญิง 6,689 คน 3.จำนวนครัวเรือน 7,722 ครัวเรือน
หมู่ที่
|
หมู่บ้าน
|
ประชากร
|
รวม (คน)
|
จำนวน ครัวเรือน
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
1
|
บ้านขนงพระเหนือ
|
766
|
801
|
1,567
|
666
|
2
|
บ้านขนงพระใต้
|
815
|
881
|
1,696
|
785
|
3
|
บ้านบุกระเฉด
|
450
|
439
|
889
|
457
|
4
|
บ้านคลองหินลาด
|
280
|
318
|
598
|
259
|
5
|
บ้านขนงพระกลาง
|
566
|
534
|
1,100
|
764
|
6
|
บ้านซับสวอง
|
454
|
454
|
908
|
504
|
7
|
บ้านประดู่บาก
|
281
|
325
|
606
|
358
|
8
|
บ้านหนองตะกู
|
586
|
607
|
1,193
|
551
|
9
|
บ้านเขาจันทน์หอม
|
279
|
277
|
556
|
289
|
10
|
บ้านตะเคียนทอง
|
492
|
522
|
1,014
|
950
|
11
|
บ้านโบนันซ่า
|
267
|
269
|
536
|
892
|
12
|
บ้านผาสุข
|
361
|
349
|
710
|
396
|
13
|
บ้านประดู่งาม
|
296
|
295
|
591
|
238
|
14
|
บ้านปิ่นทอง
|
371
|
392
|
763
|
440
|
15
|
บ้านทรัพย์ศรีมงคล
|
210
|
226
|
436
|
173
|
รวม
|
6,474
|
6,689
|
13,163
|
7,722
|
จำนวนประชากรในเขตตำบลขนงพระ ปี 2566 จำนวนประชากรทั้งหมด 13,163 คน แบ่งออกเป็น 1.ประชากรเพศชาย 6,474 คน 2.ประชากรเพศหญิง 6,689 คน 3.จำนวนครัวเรือน 7,722 ครัวเรือน
(ข้อมูลจากสถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูลแยกรายพื้นที่ ระดับตำบล/แขวง เขตพื้นที่ ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตรวจสอบข้อมูล เดือนกรกฎาคม 2566) ระดับการศึกษา จากจำนวนประชากรทั้งตำบล พบว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษามีประมาณร้อยละ 1.50 ผู้ที่อ่านออกเขียนได้ ประมาณร้อยละ 63.50 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษามีประมาณร้อยละ 34.00 อีกร้อยละ 0.70 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ ร้อยละ 0.30 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ด้านศาสนา ประชากรทั้งตำบลเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ
|